UNESCO และ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา

“วารสารศาสตร์ใต้วงล้อมดิจิตัล: ผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีต่อความอยู่รอดของสื่อ ความปลอดภัยของสื่อมวลชน
และความเชื่อมั่นของสังคมในประเทศไทย”

สถานการณ์ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา จำนวนผู้ชมและรายได้จากการโฆษณาจากแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมไปกับจำนวนผู้ใช้โซเชียลมีเดียทั่วโลก เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า 2.3 พันล้านคนในปี 2016 กลายเป็น 4.2 พันล้านคนในปี 2021[1]

ในขณะที่ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมสื่อ ช่วยให้ผู้คนเข้าถึงข้อมูลมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะนำไปสู่เนื้อหาข้อมูลข่าวสารที่มีความเชื่อถือได้เสมอไป ภายใต้ระบบนิเวศของสื่อดิจิตอล ข้อมูลข่าวสารมหาศาลส่งผ่านบริษัทอินเตอร์เน็ตขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่คัดกรองเป็นผู้คัดกรอง (new gatekeepers) ในขณะเดียวกัน มัลแวร์และสปายแวร์ ก็ถูกใช้เพิ่มขึ้นจากทั้งทางฝั่งของรัฐและเอกชนด้วยเหตุผลจากความซับซ้อนทางเทคนิคและความสามารถในการหลบหลีกการตรวจสอบ รวมถึงต้นทุนที่ประหยัดขึ้น 

ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ การคุมคามสื่อมวลชน จึงเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง รุนแรง และคงอยู่ยาวนานขึ้น และยังมีการเพิ่มความรุนแรงผ่านทางออนไลน์กับสื่อมวลชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสื่อมวลชนที่เป็นผู้หญิงจากทั่วทุกมุมโลก 

ในประเทศไทย นับตั้งแต่มีการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่ที่มีผู้เข้าร่วมสูงสุดในช่วงเดือนกรกฎาคม 2020 จนกระทั่งการเคลื่อนไหวตลอดปี 2021 แม้ว่าจะมีการห้ามชุมนุมขนาดใหญ่เพื่อป้องกันการระบาดของโคโรนาไวรัส  จากการเก็บข้อมูลของ Mob Data Thailand ในปี 2020 จนถึงสิ้นสุดปี 2021 พบว่า มีการประท้วงมากกว่า 1200 ครั้งและมีการปราบปรามมากกว่า 50 ครั้ง  

ในขณะเดียวกัน นับตั้งแต่การรัฐประหารเดือนพฤษภาคม 2014 การควบคุมเสรีภาพในการแสดงออกของรัฐผ่านการคุกคามออนไลน์เพิ่มขึ้น จนเกิดความกังวลใจ เพิ่มขึ้นอย่างมาก กับความพยายามของรัฐไทยในการจับตามอง ครอบงำ และควบคุมประชาชนของตัวเองทั้งในช่องทางออนไลน์และในการใช้ชีวิตทั่วไป และในเดือนพฤษภาคม 2019 พระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้ที่ให้อำนาจคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติอย่างกว้างขวาง และกำหนดให้ผู้ให้บริการออนไลน์มีหน้าที่ปฏิบัติตามนโยบายหรือแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องต่อ “การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของชาติ” และบทบัญญัติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

การพัฒนาการของการใช้อำนาจรัฐในการสอดส่องพลเมืองในโลกอินเตอร์เน็ต มีร่องรอยปรากฎในคดีทางการเมืองจำนวนมากที่ต่อสู้กันทั้งทางออนไลน์และอ๊อฟไลน์นั้น หลายคดีที่ฝ่ายรัฐไทยได้หลักฐานโดยดึงมาจากบัญชีผู้ใช้งานโซเซียลมีเดียและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ในขณะที่ปรากฏการณ์ดังกล่าวดำเนินไป เบื้องหลังฉากทัศน์นี้ กระบวนการตุลาการของไทยถูกดึงเข้าสู่ความตึงเครียดทางการเมือง แม้ว่ากรอบและหลักปฏิบัติตามกฏหมายจะไม่สามารถช่วยพิทักษ์เสรีภาพในการแสดงออกได้ในบางครั้ง ทว่าในหลายกรณีกลับมีการปฏิเสธคำร้องของรัฐบาลที่ขอให้จำกัดเนื้อหาและเซ็นเซอร์แพลตฟอร์มออนไลน์ และให้คำตัดสินที่เป็นคุณต่อบุคคลที่ถูกตั้งข้อหาทางอาญาจากกิจกรรมออนไลน์ของพวกเขา

เพื่อรำลึกถึงวัน World Press Freedom Day ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2022 UNESCO ร่วมกับคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมเสวนาสาธารณะออนไลน์ขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นจากหลากหลายแง่มุมในประเด็นของประเทศไทยในเรื่องการพัฒนาความสามารถในการคุกคามโดยรัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ AI ผลกระทบต่อสื่อมวลชน เสรีภาพในการแสดงออก และความเป็นส่วนตัว

โดยกิจกรรมพยายามสร้างตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์สื่อในโลกดิจิตัล ที่ด้านหนึ่งคือ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่และการพิทักษ์สิทธิ พร้อมไปกับการเปิดพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแง่มุมต่างๆ ให้เข้าถึงข้อมูล การปกป้องสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน การเคารพกฎหมายภายในประเทศ และข้อตกลงระหว่างประเทศที่ระบุไว้ในเป้าหมาย SDG 16.10

ประเด็นในการแลกเปลี่ยน

  • สถานการณ์ในปัจจุบันของประเทศไทยต่อเสรีภาพในการแสดงออก ผลจากความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีต่ออุตสาหกรรมสื่อ และการเพิ่มขึ้นของ AI และเทคโนโลยีขั้นสูง ผ่านการแบ่งปันประสบการณ์จากกลุ่มผู้ทรงสิทธิ์ เช่น สื่อมวลชน นักสิทธิมนุษยชน ภาคประชาสังคม สมาคมนักข่าวและหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย   
  • ความท้าทายของหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่เป็นผู้คุ้มครองสิทธิ์ เช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หน่วยงานด้านยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด และหน่วยงานกำกับดูแล ที่รักษาสมดุลจากการใช้ประโยชน์ของ AI และเทคโนโลยีขั้นสูงต่างๆ ที่จะช่วยสร้างองค์ความรู้และประโยชน์ให้กับสังคม พร้อมไปกับการคงไว้ซึ่งความมั่นคงของชาติและความเป็นระเบียบของสังคม 
  • พิจารณาจากบทเรียนที่เกิดขึ้นจากนานาชาติและบทเรียนภายในประเทศไทย จากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมสื่อและการเพิ่มขึ้นของการใช้ AI และเทคโนโลยีขั้นสูงประเทศไทยจะเพิ่มเสรีภาพในการแสดงออกความปลอดภัยของ สื่อมวลชนและการคงอยู่การอยู่รอดของธุรกิจสื่อ

Press Freedom Day 2022 | อังคารที่ 3 พฤษภาคม เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป

ร่วมฟังและแชร์ประสบการณ์ความรู้ เพื่อสร้างเสรีภาพของสื่อไทยไปพร้อมๆ กันกับงาน

“Journalism Under Digital Siege”

ลงทะเบียนร่วมงานผ่าน Zoom ได้ที่
https://forms.gle/E6SW5McAviSLcDLF6