Visual Notetaker สำหรับกิจกรรมเวทีเสวนา “Pay for Success: โมเดลปฏิบัติการใหม่ เพื่อผลลัพธ์ด้านการศึกษาที่ยั่งยืน” จัดโดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เพื่อหาทางแนวทางร่วมกันในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้าทางการศึกษา ซึ่งเป็นปัญหาที่สังคมไทยต้องเผชิญมาอย่างยาวนาน และยิ่งเยาวชนเสี่ยงที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษามากขึ้น เรื่อยๆ การเร่งแก้ไขปัญหาโดยสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาคปฏิบัติและภาคเอกชน ในการออกแบบนวัตกรรมทางการเงินรูปแบบใหม่อย่าง Pay for Success (PFS) หรือ “การจ่ายให้แจ๋ว” อาจเป็นหนึ่งทางออกสำคัญ
ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา และสร้างความเท่าเทียมเสมอภาคในสังคมที่ยั่งยืน โดยไม่จำเป็นต้องรอความช่วยเหลือจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว
วิทยากร 4 ท่าน คือ คุณวิเชียร พงศธร มูลนิธิเพื่อคนไทย คุณสมัชชา พรหมศิริ แสนศิริ คุณณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุลDisrupt Technology Venture และ คุณศิริ จงดี กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
รายละเอียดของ Visual Notetaker
คุณวิเชียร พงศธร มูลนิธิเพื่อคนไทย
โมเดลจ่ายให้แจ๋ว: ทำอย่างไรให้ยั่งยืน
ปัญหาการศึกษาไทยเป็นเรื่องเร่งด่วนมานานกว่า 30 ปี เกี่ยวพันกับเด็กกว่า 1.9 ล้านคน งบประมาณจากหลายกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการศึกษารวมปีละ 5 แสนล้านก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้ ทางแก้คือ ต้องให้ “นักลงมือปฏิบัติ” กับ“นักลงทุน” ทำงานร่วมกันโดยมีเป้าหมายร่วมและตัวชี้วัดที่เหมาะสม

คุณสมัชชา พรหมศิริ แสนศิริ
“ชวนให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วม”
แสนสิริร่วมงานกับ กสศ. เพราะว่ามีฐานข้อมูลและตัวเลขที่ชัดเจน ช่วยให้สามารถทำโมเดลในขนาดที่เหมาะสม การมีฐานข้อมูลและมีองค์ความรู้ทำให้มีทางเลือกในการทำงานและเห็นโอกาสในการประสบความสำเร็จซึ่งจะสร้างImpact ต่อสังคมได้ไม่ยาก และเมื่อประสบความสำเร็จมีโอกาสที่จะทำให้เอกชนรายอื่นสนใจในโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมมากขึ้น

คุณณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล Disrupt Technology Venture
สร้างจุดเปลี่ยนที่สำคัญให้โมเดลจ่ายให้แจ๋ว
จุดเปลี่ยนสำคัญ คือ ต้องมีตัวอย่างความสำเร็จให้ได้แล้ว หนุนให้เกิดโมเดลที่กล้าทดลองมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้เกิดMindset ใหม่ๆ ให้ได้ใช้ตัวชี้วัดที่มี Impact ที่ชัดเจนและช่วยกันสื่อสาร

คุณศิริ จงดี กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
บทบาทของ กสศ.ในโมเดลจ่ายให้แจ๋ว
อธิบายถึงแนวทางของ กสศ. ที่ทำงานเชิงข้อมูล ด้วยการชี้เป้า ชี้สภาพปัญหาที่แท้จริง และช่วยกำหนดเป้าหมาย/ตัวขี้วัดที่เหมาะสม เพราะการใช้โมเดลจ่ายให้แจ๋วจะช่วยให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ ช่วยให้คนทำงานได้ระบบนิเวศใหม่ๆ ในการทำงาน พร้อมกับได้ความเชี่ยวชาญและความรู้ใหม่จากภาคธุรกิจในการแก้ไขปัญหา
