ป่าสาละ และ ดาต้า แฮทช ชวนทุกท่านติดตามชุดภาพ Infographics 3 ชุด เพื่อเล่างานวิจัยใน ‘โครงการวิจัย การจัดการกับงบประมาณโฆษณาจากภาครัฐและเอกชนขององค์กรสื่อ: สู่การสร้างธรรมเนียมปฏิบัติที่มีจริยธรรมและโปร่งใส’ โดยโครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund)
ชุดแรก “จริยธรรมสื่อมวลชน ในวันที่ต้องสู้กับความอยู่รอด”
เพราะจำนวนสื่อที่มากขึ้น การแข่งขันของสื่อเองก็สูงขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน เพื่อทางอยู่รอดขององค์กรทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมการทำงานแข่งกับเวลา แข่งกันแย่งพื้นที่บนโลกออนไลน์ ส่งผลให้การทำงานของสื่อนั้นมีกระบวนการที่ไม่ชัดเจน มีเนื้อหาที่ไม่ได้คุณภาพมากพอ ตลอดจนเรื่องของจริยธรรมความเป็นสื่อที่เริ่มเลือนหายไปในโลกที่ต้องแข่งขันอยู่ตลอดเวลา
ทำให้ผู้อ่านข่าวออนไลน์สับสนและแยกไม่ออกว่า งานใด คือ เนื้อหาข่าว โฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือแม้กระทั่ง ข่าวบิดเบือนและข่าวปลอม
จากผลการศึกษาของ Global disinformation index พบว่า ภาพรวมตลาดข่าวออนไลน์ของไทยเสี่ยงต่อการบิดเบือนข้อมูล ซึ่งทั้งหมดเป็นผลมาจากกระบวนการทำงานที่ขาดความโปร่งใสและขาดหลักเกณท์การดำเนินงานตามมาตรฐานสากล
ชุดที่ 2 “(เงิน) ทุนในพื้นที่สื่อ เนื้อหาโฆษณาแนบเนียนไปกับเนื้อหาวารสาร”
บนโลกออนไลน์ที่สื่อมีอิทธิพลกับเรามากขึ้น การลงทุนกับการโฆษณาออนไลน์ผ่านพื้นที่สื่อจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่แบรนด์ใช้มากขึ้น ประเด็นสำคัญคือการจ่ายเงินเพื่อให้ได้พื้นที่สื่อ และเข้าถึงประชาชน แต่กลับไม่มีการปักป้ายเพื่อแจ้งทราบให้ชัดเจนว่าเป็นการโฆษณา เพิ่มความสับสนและอาจทำให้เกิดการรับสารที่ไม่ถูกต้องได้
ทำความเข้าใจประเด็นการจ้างซื้อสื่อของเอกชน ทั้งในแง่ของการไม่แจ้งและแปะป้ายชัดเจน ไปจนถึงเนื้อหาต่างๆ
ชุดที่ 3 “(เงิน) รัฐในพื้นที่สื่อ ใช้งบสร้างสื่อมาก ตรวจสอบยาก หวังผลได้น้อย”
ท่ามกลางทะเลข่าวสารจำนวนมาก หนึ่งในนั้นมีข่าวประชาสัมพันธ์จากหน่วยงานรัฐอยู่ด้วยเเป็นแสนๆ โครงการ เริ่มกันงบตั้งแต่ 1 แสนไปจนถึง 100 ล้านบาท เพราะในทุกปีหน่วยงานรัฐมีงบประมาณสำหรับการจ้างสื่อเพื่อทำโฆษณาประชาสัมพันธ์แต่ขาดการตรวจสอบที่ชัดเจน ไปจนถึงคำถามเรื่องของผลลัพธ์ว่าคุ้มค่ากับเม็ดเงินที่ลงทุนไปแล้วหรือยัง
ทำความเข้าใจประเด็นเรื่องงบประมาณการและจ้างจัดสื่อของหน่วยงานรัฐ ทั้งจำนวนเงิน โครงการ ตลอดจนลักษณะ และข้อเสนอใหม่ที่ทำให้รัฐคุ้มเงินมากขึ้น