กิจกรรมเสวนาสาธารณะครั้งที่ 2 ในหัวข้อ ”เล่นเรื่องปอด” 🫁
ภายใต้โครงการของ Thai Health Watch The Series 2024 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ (สสส.) ภายใต้โครงการของ Thai Health Watch The Series 2024 จัดโดย Data Hatch ร่วมกับ สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ)

เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาของฝุ่นพิษและบุหรี่ไฟฟ้าในสังคมไทย ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้สามารถทำร้ายปอดของเราได้มากแค่ไหน พร้อมทั้งแนวทางเตรียมรับมือกับภัยปอดในรูปแบบใหม่ 💨🫣

โดย คุณภาริญช์ โอภาสเสรีผดุง & คุณเจนจิรา อุนาแพง นักจัดการด้านข้อมูลและสื่อสารความรู้ Data Hatch
📁เอกสารประกอบการเสวนา

มากกว่า 7 ล้านคนทั่วโลกต่อปีที่เสียชีวิตจากสาเหตุมลพิษทางอากาศเป็นหลัก โดยในไทยการเสียชีวิตจากสาเหตุนี้มากกว่าอุบัติเหตุบนท้องถนนเกือบห้าเท่า และคนกรุงเทพสูดฝุ่นควันเทียบเท่าการสูบบุหรี่ 4 มวนต่อวัน รวมไปถึงเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กที่เพิ่มขึ้นมากถึง 5.3 เท่าในช่วงระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี นอกจากนี้มลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมอย่างก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ก็ทำร้ายปอดและระบบทางเดินหายใจไม่แพ้กัน

🎥คลิปวิดีโอ

โดย นพ.วินัย โบเวจา – อายุรแพทย์เฉพาะทางด้านโรคปอด และระบบทางเดินหายใจ
📁เอกสารประกอบการเสวนา

PM2.5 และบุหรี่ไฟฟ้า ภัยคุกคามสุขภาพที่รุนแรง ไม่เพียงแค่ก่อให้เกิดโรคหัวใจและมะเร็งปอดในผู้ใหญ่ แต่ยังส่งผลกระทบถึงทารกในครรภ์ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงอย่างมะเร็งปอด หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยกว่าบุหรี่ธรรมดา แต่แท้จริงแล้ว บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้อันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา แถมยังอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งและการกลายพันธุ์ของสารพันธุกรรมมากขึ้น เพราะมีสารปรุงแต่งหลายชนิดที่ไม่ผ่านการรับรองด้านความปลอดภัย
🎥คลิปวิดีโอ

โดย คุณสุรเสกข์ ยุทธิวัฒน์ – ผู้ก่อตั้ง toolmorrow
📁เอกสารประกอบการเสวนา

7 ขวบ ตัวเลขที่เด็กไทยบางคนเริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้า แสดงให้เห็นว่าบุหรี่ไฟฟ้ากำลังแพร่ระบาดในกลุ่มเด็กและเยาวชน เพราะเข้าถึงง่ายและมีโฆษณาชวนเชื่อ มีรูปแบบที่หลากหลายพร้อมกลิ่นและรสชาติที่ดึงดูดใจ จึงถูกชักจูงได้ง่าย มีการสำรวจในโรงเรียนชั้นประถมศึกษาพบว่านักเรียนบางคนเคยใช้และจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจและขาดความรู้ ผู้ปกครองบางคนอาจมองว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่เป็นอันตราย ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของเด็กในระยะยาว
🎥คลิปวิดีโอ

โดย คุณศุภวัจน์ พรมตัน (ครูมะนาว) – แอดมินเพจ อะไรอะไรก็ครู
📁เอกสารประกอบการเสวนา

ปัญหา PM2.5 ในภาคเหนือส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนอย่างรุนแรง มีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปอด นักเรียนที่เคยไปโรงเรียนในสภาพอากาศที่ยังคงมองเห็นภูเขา แต่ทุกวันนี้กลับมองไม่เห็นภูเขาเห็นเพียงนักเรียนเหล่านั้นอยู่ท่ามกลางฝุ่นควัน ซึ่งสาเหตุหลักคือเผาป่า แม้จะมีมาตรการห้ามเผา แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
🎥คลิปวิดีโอ

โดย คุณธารา บัวคำศรี – ผู้อำนวยการ กรีนพีซ ประเทศไทย Greenpeace Thailand
📁เอกสารประกอบการเสวน

การเติบโตของเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ นำมาซึ่งความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ แต่ก็ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศจากการจราจร การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และการเผาในที่โล่ง ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต ยกตัวอย่าง ปอดของกรุงเทพฯทั้งสองข้าง เช่น บางกระเจ้าและสุวรรณภูมิ บางกระเจ้าได้ชื่อว่าเป็น โอเอซิสของเมือง ถือว่าเป็นปอดเชิงนิเวศวิทยา ในขณะที่สุวรณภูมิเป็นปอดเศรษฐกิจ อุณหภูมิของ 2 เมืองนี้ห่างกัน 8-10 องศาเซลเซียส ปอดของเมืองอาจจะทำหน้าที่ต่างกันแต่เราควรจะออกแบบเมืองอย่างไรให้สมดุลกัน เป็นเมืองที่ดีและสามารถหายใจได้
🎥คลิปวิดีโอ

โดย คุณเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร – ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรักษาการในตาแหน่งผู้อานวยการ
ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.
📁เอกสารประกอบการเสวนา

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มุ่งเน้นการรณรงค์เรื่องบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น สสส. ใช้สื่อหลากหลายและสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจถึงอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า ความท้าทายสำคัญคือการบังคับใช้กฎหมายที่ยังไม่เพียงพอ และการสื่อสารให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ สสส. เสนอให้มีการสร้างความตระหนักอย่างต่อเนื่อง พัฒนาช่องทางการสื่อสารที่น่าสนใจ และผลักดันการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าอย่างจริงจัง
🎥คลิปวิดีโอ

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

เพจ Facebook ของ Data Hatch และ สสส.

.

#สสส. #ดาต้าแฮทช#DataHatch#ThaiHealthWatch#เล่นให้เป็นเรื่อง#เล่นเรื่องปอด#มลพิษทางอากาศ#PM2.5 #อันตราย#datahatch#ปอด#บุหรี่#ฝุ่น#มลภาวะ